วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เก็บค่าก่อน Overhaul Gear Box Cooling Tower


เครื่องจักรในโรงงานปิโตรเคมีและโรงกลั่น จะต้องมีการทำ PM และ Overhaul เครื่องจักรตามระยะเวลาที่แต่ละที่กำหนด ซึ่งการที่เราจะทำการ Overhaul เครื่องจักรเราจะต้องวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เตรียม Spare Part และเตรียมค่าพิกัดต่างๆที่ใช้ในการ Overhaul เครื่องจักร ซึ่งวิศวะกรทุกคนน่าจะเตรียมข้อมูลและน่าจะรู้ทุกคน วันนี้ผมจะแนะนำข้อมูลเล็กๆน้อย ก่อนที่จะทำการ Overhaul Gear Box Cooling Tower 
ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับผมคือ ขั้นตอนก่อนที่จะถอดชิ้นส่วนต่างๆเพื่อ Overhaul เราจำเป็นต้องวัด 2 ตำแหน่งที่สำคัญ ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B ซึ่งผมคิดว่าสำคัญมากคือ 

ตำแหน่ง A เราวัดค่าเทียบกันระหว่างหน้าแปลน Casing กับ Inner Ring Bearing ซึ่งจะต้องวัดค่าเก็บไว้และวัดทั้ง 6 จุดเพื่อดูว่า Inner Ring เอียงหรือไม่ และเก็บค่าระยะระหว่างหน้าแปลนกับค่า Inner Ring

ตำแหน่ง B เราจะเก็บค่าระหว่างปลายเพลากับค่า Inner Ring Bearing ซึ่งเราจะต้องเก็บค่านี้ไว้ เพราะในการประกอบ Inner Ring Bearing เราจะได้เทียบค่าได้ว่าเราใส่ Bearing เข้าไปยันบ่าเพลาหรือไม่

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Bearing เบอร์อะไร(เจอ Foreman ถาม)

ในการทำงานเกิดเหตุการณ์ Pumpไม่สามารถ Start Pumpได้ หลังจากได้รับแจ้งจากฝ่ายผลิตก็ได้ลงหน้างานเข้าไปดูที่ตัว Pump Lock พบว่าที่บริเวณ Bearing มีรอยเหมือนไหม้ จากนั้น Foreman ก็ได้สั่งให้ช่าง(Technician)ได้ Disconnect Coupling และลองหมุนที่ตัวหมุนเพลา(Shaft)พบว่าไม่สามารถหมุนได้ แสดงว่า Pump ได้เกิดการ Lockตัวแล้ว (Pump Lock) จากนั้นก็ได้ทีมงาน ก็ได้ยก Pump กลับมาที่ Work Shop หลังจากถอดชิ้นส่วนทุกอย่างออกมาแล้วพบว่า ไม่สามารถดูเบอร์ Bearing ตัวที่ไหม้ได้ และแบบ(Drawing) ของ Pump ก็ยังไม่มีอีก Foreman ถามว่าเบอร์ Bearing เบอร์อะไร

Fig1.Bearing Drawing

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้คือ ขนาดของ d ที่เราหาได้จากเพลา และ B เราหาได้จาก Bearing ตัวเก่า จากนั้นเรามาเปิดตาราง Bearing ในที่นี่ใช้หนังสือ Bearing ของ SKF เราจะได้ขนาด d=30มม.(สมมุติว่าขนาดเพลาโต 30มม.) จากนั้นเราได้ขนาดความหนา Bearing ตัวเดิม B=16มม. จากนั้นเราก็ดูตามแนวยาวมาช่อง Designations เราจะได้เบอร์ Bearing เพื่อใช้ในการซ่อมเครื่องจักร

Fig3.หนังสือตาราง SKF

ทีมารูปภาพ: SKF

Balance hole มีผลต่อ Hydraulic Load ของ Pump

FIG1.CLOSE IMPELLER WITH TWO WEARING AND BALANCE HOLES

โดยทั่วไปแล้ว Pump ที่ใช้ในโรงงานส่วนใหญ่จะมี 2 Wearing และมี Balancing Hole ซึ่งจะพบเห็นได้ตามโรงงานปิโตรเคมีและโรงกลั่นเป็นส่วนใหญ่ Balance Hole มีไว้เพื่ออะไร(คำถามจากรุ่นพี่) เพื่อสร้างความสมดุล(Balance Pressure)ของแรงดันที่เข้าด้าน Suction และด้าน Discharge เพื่อปรับความสมดุลของ Axial โหลดของตัวเพลาและปรับสมดุลของแรง Hydraulic Load ของ Pump


FIG2.CLOSE IMPELLER WITH ONE WEARING


ที่มารูปภาพ: SKF